วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

ประวัติความเป็นมา
1.ที่มาและการก่อเกิดภูมิปัญญา
       ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูลอยู่ห่างจากตัวอำเภอละงูประมาณ 111 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวมุสลิมและประมงเป็นอาชีพหลัก  โดยมีวิถีชีวิตที่กลมกลืนกับธรรมชาติ
        ในปี พ.ศ.2525 ได้มีการสำรวจพันธุ์เต่าน้ำจืดในเขตอำเภอละงู ปัจจุบันเต่าชนิดนี้มีปริมาณลดน้อยสงใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว
       ดังนั้น นายวุฒิเลิศ   ม่าเหล็ม  จึงได้คิดเลียนแบบเต่ากระอานด้วยกะลามะพร้าวขึ้นเพื่เป็นการอนุรักษ์เต่ากระอานให้ลูกหลานอนุรักษ์เป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป ดังนั้นจึงเริ่มประกอบธุรกิจงานหัตกรรมในครัวเรือนขนาดเล็กกับภรรยา  โดยออกแบบแสดงสินค้าต่างๆ  ทั้งระดับจังหวัด  ระดับประเทศ ปลายปี 2545 ได้รับการสั่งซื้อเป็นจำนวนมากจากการแสดงสินค้าที่เมืองทองธานี ต่อมา ประมาณกลางเดือนมกราคม ปี พ.ศ.2546 เริ่มหาคนงานเพิ่มจำนวน 10 คน เพื่อเปิดตลาดต่างประเทศโดยการเดินทางไปเปิดตลาดด้วยตนเองที่เกาะลังกาวี  ประเทศมาเลเซีย  และได้รับการสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง นอจากนี้ ยังได้รับการสั่งซื้อจากประเทศสหรัฐอเมริกาเดือนละ ประมาณ 25000 บาท  เมื่อมีตลาดกว้างขึ้นจึงเริ่มออกงานแสดงสินค้าที่เมืองทองธานีและกระทรวงพาณิชย์  สินค้าได้รับสนใจจากผู้ส่งออกเป็นจำนวนมาก และได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายกับบริษัทอัยรัตน์  จำกัด แต่เพียงผู้เดียวเป็นระยะเวลา 3 ปี หลังจากนั้นจึงรับสมัครคนงานเพิ่มขึ้นเป็น 120 คน มีการก่อสร้างอาคารโรงงานและจัดวื้อเครื่องมือเป็นจำนวนมาก
       ปัจจุบันได้พัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น และกำลังขยายงานการผลิตส่วนประกอบที่ทำมาจากเรซิ่นของตัวเองโดยใช้วัตถุดิบจากนครนายกและมีการขยายตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกา  ประเทศเยอรมัน  ประเทศญี่ปุ่น  ประเทศอเมริกาใต้  ประเทศมาเลเซีย และอื่นๆ อีกหลากหลายประเทศ
2. จุดเริ่มต้น/แนวคิดของผลิตภัณฑ์
       นายจำรูญ   ตาเหยบ รองประธานกลุ่ม กล่าวว่าเหตุผลที่ทำผลิตภัณฑ์เนื่องจากกระดองเต่ากับผิวกะลามะพร้าวมีลักษณะคล้ายกัน วิธีการทำจะใช้มือทั้งหมด โดยใช้คอนทุบและใช่วงล้อยางใหญ่กั้น เพื่อไม่ให้กะลามะพร้าวกระเด็นไปไกล สามารถเก็บทุกชันส่วนกะลาประกอบกันได้ครบ  หลังจากนั้นพาณิชย์จังหวัดเข้ามาดูงานและให้คำแนะนำว่าจะใช้เครื่องมือในการตัดกะลามะพร้าวและใช้เครื่องมือขัดกะลามะพร้าวประกอบด้วย
       นายวุฒิเลิศม่าเหล็ม กล่าวว่า แม้การผลิตเต่าแต่ละตัวต้องใช้เวลาในการทำ ต้องใช้ความประณีต ความอดทน แต่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนมีความเข็มแข็งทำให้เยาวชนรุ่นหลังได้เห็นเต่าที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งได้มาจากแนวคิดของชาวบ้านทำให้หมู่บ้านมีชื่อเสียง จึงอยากให้สินค้าเป็นสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์หมู่บ้านในเรื่องการท่องเที่ยว
       นายอรุณ  เอ็นดู ให้แนวคิดว่าเต่าเป็นจุดขายที่ดีเพราะว่ามีการเชื่อมโยง และผสมผสานธรรมชาติเข้าด้วยกันกับการท่องเที่ยว เช่น ที่เกาะตะรุเตา เกาะไข่  ฯลฯ
       นอกจากนั้นทางกลุ่มยังมีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตได้พัฒนาอาชีพชาวบ้านปากบาราโดยมีการลงหุ้น ๆ ละ 10 บาท มีการรับฝาก/ออมเงินของสมาชิกทุกเดือนและกลุ่มยังมีผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งนอกเหนือจากเต่ากระอานจากกะลามะพร้าวคือ โคมไฟปลาปักเป้าซึ่งทำมาจากปลาปักเป้าที่ตายแล้วทำโดยการนำเอาเนื้อออกใช้เฉพาะหนังของปลาปักเป้ามาผลิตเป็นโคมไฟปลาปักเป้า
3. การสั่งสม/สืบสานผลิตภัณฑ์ มีการผลิตเต่า จำนวน 3 ชนิด คือ
          1. เต่าหลังตุง หรือเต่ากะลาปากอส มีอยู่ในทะเลอันดามากัสกาแถบมหาสมุทรแปซิฟิก
         2. เต่ากระ มีที่ทะเลปากน้ำ จังหวัดสตูล
         3. เต่ากระอาน มีแห่งเดียวในเอเชีย คือ ในคลองโกตาที่อำเภอละงู ปัจจุบันไม่ได้ชุกชุมเหมือนในอดีต ชาวประมงพื้นบ้านจึงได้มีการเพาะพันธุ์และปล่อยลงในคลอง เป็นประจำ
      4. การเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม
วิถีชีวิตในสมัยก่อน ชาวบ้านจะมีความผูกพันกับธรรมชาติ โดยมีพื้นที่ป่าชายเลน/ป่าโกงกางเป็นที่อนุรักษ์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และเป็นแหล่งสะสมอาหารอย่างดีของสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หอย ปลา และสัตว์น้ำต่างๆโดยเฉพาะ เต่า จะอาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ควบคู่ไปกับวิถีชีวิตประชาชนอำเภอละงูได้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. ตำนานผลิตภัณฑ์ปรากฏร่องรอยหลักฐานที่อ้างอิงถึงโบราณ ศิลปวัตถุ ชื่อบ้าน นามเมือง นิทานพื้นบ้าน
       ปัจจุบันทางอำเภอละงู ได้จัดสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสตูล ซึ่งในอดีตประมาณ 20 ปี มาแล้วบริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งอาศัยและแหล่งวางไข่ของเต่ากระอาน และเต่าลายตีนเป็ด ซึ่งเต่าทั้งสองชนิดนี้ มีชุกชุมมากในคลองละงู จังหวัดสตูล เนื่องจากคลองละงูเป็นคลองที่มีอาหารและธรรมชาติสมบูรณ์ มีต้นกระเดื่อเกือบตลอดสายลำคลอง ซึ่งผลของมะเดื่อเป็นอาหารชั้นยอดของเต่า โดยเต่าจะขึ้นมาวางไข่ทุกปีบริเวณชายหาดทราย ซึ่งชาวบ้านเรียกหาดนี้ว่า หาดทอนดูกัง
       6. ผลิตภัณฑ์สะท้อนภูมิปัญญาในด้านการทำด้วยมือ
       ปัจจุบันนี้เต่าเริ่มสูญพันธุ์เป็นจำนวนมาก ทำให้ชาวบ้านเริ่มคิดค้นที่จะประดิษฐ์เต่าจึงได้ความคิดว่า ให้ใช้กะลามะพร้าวมาจำลองเป็นเต่า เพราะผิวกะลามะพร้าวเหมือนกับเต่า ชาวบ้านจึงเลือกที่จะนำวัสดุกะลามะพร้าวมาทำผลิตภัณฑ์เต่า ควบคู่กับปลาปักเป้า ในการผลิตเต่าแต่ละตัวต้องใช้เวลา ใช้ความประณีต และความอดทนในการผลิต เต่ากะลามะพร้าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน มีการสืบทอดให้เยาวชนรุ่นหลังได้เห็นเต่าที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ทำให้หมู่บ้านมีชื่อเสียง เพราะนอกจากมีเต่าให้นักท่องเที่ยวได้ชมแล้ว ก็ยังมีของที่ระลึกที่เป็นเต่าจำลอง จากฝีมือชาวบ้าน เป็นของฝากได้อีกด้วย
       7. การเชื่อมโยง เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชุมชน
       วิถีชีวิตของประชาชน ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีการประกอบอาชีพด้านการประมง และมีวัฒนธรรมของชุมชนที่มีการสืบทอดต่อๆกันมา มีการคิดค้นอาชีพเสริมขึ้นมาทดแทน เพื่อเป็นการอนุรักษ์เต่าที่กำลังจะสูญพันธุ์ โดยมีแนวทางอนุรักษ์เต่าดังนี้
       1. ไม่กินเนื้อและไข่เต่า
       2. รักษาระบบนิเวศให้สมดุล
       3. ไม่ทำการประมงด้วยเครื่องมือที่ผิดกฎหมาย
       4. ไม่นำกระดองเต่ามาเป็นเครื่องประดับ
       5. ประชาชนควรตระหนักถึงความสำคัญของเต่าน้ำจืดและช่วยอนุรักษ์ไว้มิให้สูญพันธ์
       6. เต่ากระอานเป็นสัตว์คุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น