วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บทที่ 1

บทที่ 1
บทนำ
1.หลักการและการให้เหตุผล
   การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดประโยชน์ เช่น การนำกะลามะพร้าวมาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพวงกุญแจ โคมไฟ หรือของตั้งโชว์ต่างๆซึ่งวัตถุดิบก็สามารถหาได้จากท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้วัตถุดิบแบบใด และจะเลือกทำอะไร
   การเลือกที่จะประดิษฐ์กะลามะพร้าวนั้นเป็นงานฝีมือที่มีคนส่วนหนึ่งสนใจอยู่ อันเนื่องมาจากชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้จัดทำกะลามะพร้าวประดิษฐ์ขึ้นเพราะเล็งเห็นว่ากะลามะพร้าวนั้นหาได้ง่ายและมีมากในท้องถิ่นจึงเกิดเป็นความคิดที่จะประดิษฐ์สิ่งของจากกะลามะพร้าวขึ้นเพื่อเป็นของที่ระลึกหรืออื่นๆจึงทำให้เกิดการแพร่หลาย เกิดความสนใจแก่ผู้คนที่เห็น และผู้คนภายนอกที่เข้ามาเยี่ยมชมหมู่บ้าน ไม่เพียงว่ากะลามะพร้าวประดิษฐ์จะใช้ประโยชน์ได้แค่ทางเดียว แต่ยังเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวของผู้ที่ทำกะลามะพร้าวประดิษฐ์อีกด้วย และยังกลายเป็นสิ้นค้า OTOP อย่างหนึ่งของชุมชนบ้านปากบารา จากการรวบรวมข้อมูลทำให้เกิดการคิดและวิเคราะห์และช่วยกันวางแผนในการทำงานในทุกๆขั้นตอน
   จากการกล่าวข้างต้นผู้รายงานมีความคิดเห็นว่า กะลามะพร้าวประดิษฐ์ เป็นเรื่องที่บุคคลส่วนใหญ่สนใจและน่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้คนที่สนใจได้ จึงเลือกมาเป็นประเด็นในการศึกษาค้นคว้าและนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป โดยใช้หัวข้อว่า กะลามะพร้าวประดิษฐ์
2.วัตถุประสงค์
   2.1 เพื่อศึกษาความเป็นมาของกะลามะพร้าวประดิษฐ์
   2.2 เพื่อศึกษาวิธีการทำกะลามะพร้าวประดิษฐ์
   2.3 เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ต่อไป
3.ขอบเขตการดำเนินงาน
   3.1 รวบรวมขอมูลเกี่ยวกับกะลามะพร้าวประดิษฐ์
   3.2 นำมาประยุกต์เพื่อให้เกิดความสนใจ
   3.3 เวลาในการดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2556
   3.4 แหล่งค้นคว้าข้อมูลคือ อินเทอร์เน็ต
    3.5 บทสัมภาษณ์ นายจำรูญ ตาเหยบ
4.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
   4.1 ทำให้บุคคลทั่วไปหันมาสนใจกะลามะพร้าวประดิษฐ์มากขึ้น
   4.2 ทำให้เกิดการเผยแพร่กะลามะพร้าวประดิษฐ์มากขึ้น
   4.3 สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
5.นิยามศัพท์เฉพาะ      
   1.กะลามะพร้าว หมายถึง ส่วนหนึ่งที่ได้จากเปลือกแข็งด้านในของกะลามะพร้าว ลูกมะพร้าว
   2.การประยุกต์ หมายถึง การนำบางสิ่งบางอย่างมาใช้ประโยชน์ ปรับให้เหมาะสมกับสภาวะที่เฉพาะเจาะจง อาจนำมาปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติมให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

บทที่ 2

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

        ในการจัดทำรายงานเว็บบล็อกเรื่อง กะลามะพร้าวประดิษฐ์นี้ คณะผู้จัดทำได้มีการศึกษา ค้นคว้าเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติของมะพร้าว รวมถึงการแปรรูปและประโยชน์จากกะลามะพร้าว และได้ข้อมูลดังนี้

1. ประวัติของมะพร้าว


ภาพที่ 2.1
ที่มา www.vitamin.co.th

 มะพร้าว  ในสมัยก่อนผู้คนมักจะนำเนื้อมะพร้าวและน้ำมะพร้าวมาประกอบอาหารทั้งอาหารคาว และของหวานเพื่อรับประทานในชีวิตประจำวัน  แต่เมื่อนำเนื้อมะพร้าวและน้ำมะพร้าวไปประกอบอาหารแล้วก็จะเหลือส่วนของผลมะพร้าวหรือที่เรียกกันว่า  กะลามะพร้าวซึ่งไม่สามารถนำมาประกอบอาหารได้ จึงมีผู้คิดค้นนำกะลามะพร้าวมาประดิษฐ์เป็นของใช้ในครัวเรือน และต่อมาได้ประดิษฐ์เป็นของประดับตกแต่งและเครื่องประดับมากมาย
        เอกพงศ์  งามเลิศ  (2555)  กล่าวว่า  มะพร้าว (Coconut = โคโคนัท) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cocos nucifera Linn. เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากคนไทยรู้จักใช้เนื้อมะพร้าวในการบริโภคเป็นอาหารทั้งคาวและหวานในชีวิตประจำวัน ซึ่งจากสำนักงานสถิติแห่งชาติได้เคยสำรวจพบว่า ประชากรไทย 1 คน จะบริโภคเนื้อมะพร้าวประมาณปีละ 8,273.2 กรัม หรือประมาณ 18 ผล/คน/ปี ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีพลเมืองประมาณ 55 ล้านคน จะใช้ผลมะพร้าวประมาณ 990 ล้านผล หรือประมาณ 65% ของผลผลิตทั้งหมด ส่วนที่เหลือประมาณ 35% ของผลผลิตทั้งหมด หรือ 489 ล้านผล ใช้ในรูปของอุตสาหกรรมหรือส่งออกต่อไป ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมมะพร้าวใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ
        1. ผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อการบริโภค เช่น อุตสาหกรรมมะพร้าวแห้งอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว อุตสาหกรรมกะทิเข้มข้น อุตสาหกรรมมะพร้าวขูดแห้ง อุตสาหกรรมน้ำตาลมะพร้าว
        2. ผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมและอุปโภค เช่น อุตสาหกรรมเส้นใยมะพร้าว อุตสาหกรรมแท่งเพาะชำ อุตสาหกรรมเผาถ่านจากกะลามะพร้าว อุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าวผลผลิตมะพร้าวแต่ละปีจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าปีละ 2,700 ล้านบาท คิดแล้วมูลค่ามหาศาล ซึ่งเราไม่ควรที่จะละเลยและ ควรเร่งหาทางในการส่งเสริมและพัฒนามะพร้าวอีกต่อไปมะพร้าวสามารถขึ้นได้ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ  แต่ขึ้นได้ดีในดินที่มีสภาพเป็นกลางหรือเป็นกรดเล็กน้อยคือpHระหว่าง6-7 ลักษณะดินร่วน หรือร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี มีฝนตกกระจายสม่ำเสมอแทบทุกเดือน อากาศอบอุ่น หรือค่อนข้างร้อน และมีแสงแดดมากภาคที่มีการปลูกมะพร้าวมากและปลูกเป็นอาชีพ คือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ภาคใต้ : จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช ฯลฯ ภาคตะวันออก : จังหวัดชลบุรี ระยอง ฯลฯ ภาคตะวันตก : จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม
         วรพงศ์ กริ่งเกษมศรี (2554)  ได้บอกไว้ว่า   มะพร้าว (Coconut = โคโคนัท) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cocos nucifera Linn. เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากคนไทยรู้จักใช้เนื้อมะพร้าวในการบริโภคเป็นอาหารทั้งคาวและหวานในชีวิตประจำวัน ซึ่งจากสำนักงานสถิติแห่งชาติได้เคยสำรวจพบว่า ประชากรไทย 1 คน จะบริโภคเนื้อมะพร้าวประมาณปีละ 8,273.2 กรัม หรือประมาณ 18 ผล/คน/ปี ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีพลเมืองประมาณ 55 ล้านคน จะใช้ผลมะพร้าวประมาณ 990 ล้านผล หรือประมาณ 65% ของผลผลิตทั้งหมด ส่วนที่เหลือประมาณ 35% ของผลผลิตทั้งหมด หรือ 489 ล้านผล ใช้ในรูปของอุตสาหกรรมหรือส่งออกต่อไป ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมมะพร้าวใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ
    1. ผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อการบริโภค เช่น อุตสาหกรรมมะพร้าวแห้งอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว อุตสาหกรรมกะทิเข้มข้น อุตสาหกรรมมะพร้าวขูดแห้ง อุตสาหกรรมน้ำตาลมะพร้าว
    2. ผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมและอุปโภค เช่น อุตสาหกรรมเส้นใยมะพร้าว อุตสาหกรรมแท่งเพาะชำ อุตสาหกรรมเผาถ่านจากกะลามะพร้าว อุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าว
    ผลผลิตมะพร้าวแต่ละปีจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าปีละ 2,700 ล้านบาท คิดแล้วมูลค่ามหาศาล ซึ่งเราไม่ควรที่จะละเลยและ ควรเร่งหาทางในการส่งเสริมและพัฒนามะพร้าวอีกต่อไป
    มะพร้าวสามารถขึ้นได้ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ แต่ขึ้นได้ดีในดินที่มีสภาพเป็นกลางหรือเป็นกรดเล็กน้อยคือ (pH ระหว่าง 6-7 ) ลักษณะดินร่วน หรือร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี มีฝนตกกระจายสม่ำเสมอแทบทุกเดือน อากาศอบอุ่น หรือค่อนข้างร้อน และมีแสงแดดมาก
    ภาคที่มีการปลูกมะพร้าวมากและปลูกเป็นอาชีพ คือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก
    ภาคใต้ : จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช ฯลฯ
    ภาคตะวันออก : จังหวัดชลบุรี ระยอง ฯลฯ
    ภาคตะวันตก : จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม ฯลฯ
           อุระคินทร์ วิริยะบูรณะ (2556)  กล่าวว่า  มะพร้าว เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นพรรณไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล
        ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า  มะพร้าว เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของสังคมไทย เพราะคนไทยรู้จักนำเอามะพร้าวมาประกอบอาหารทั้งอาหารคาวและของหวานในชีวิตประจำวัน

2.  การแปรรูปและประโยชน์จากกะลามะพร้าว  
     2.1  การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากเนื้อมะพร้าว
ผลิตภัณฑ์อาหารจากมะพร้าวส่วนใหญ่ได้จากเนื้อมะพร้าวซึ่งมีอยู่ 29-30 เปอร์เซนต์ ต่อน้ำหนักผล และจากน้ำมันมะพร้าวซึ่งมีอยู่ 21-26 เปอร์เซนต์ ต่อน้ำหนักผล ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ กะทิ กะทิเข้มข้น กะทิผง น้ำมันมะพร้าว แป้งมะพร้าว ส่วนผลิตภัณฑ์จากน้ำมะพร้าว ได้แก่ น้ำส้มสายชู น้ำ-มะพร้าวอ่อน น้ำตาลมะพร้าว
         2.1.1  อุตสาหกรรมเนื้อมะพร้าว นอกจากเราใช้มะพร้าวสดและแห้งในการประกอบอาหารในชีวิตประจำวันแล้ว มะพร้าวยังเป็นพืชที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย การแปรรูปผลผลิตมะพร้าวในทางอุตสาหกรรมอาจแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่คือ


ภาพที่ 2.2
ที่มาwww.bloggang.com

         1. อุตสาหกรรมมะพร้าวแห้ง โดยนำเนื้อมะพร้าวมาตากแดดหรือย่างไฟแบบรมควันอาจทำในรูปของอุตสาหกรรมในครอบครัว การทำมะพร้าวแห้งส่วนใหญ่จะทำเมื่อราคาของมะพร้าวตกต่ำ ซึ่งราคาของมะพร้าวก็ขึ้นอยู่กับผลผลิตตามฤดูกาลคือในช่วงระหว่างกรกฎาคม-ตุลาคมของทุกปี ผลผลิตมะพร้าวเข้าสู่ตลาดมาก ราคาจะตกต่ำ




ภาพที่ 2.3
ที่มาwww.greenerald.com

         2.  อุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว เป็นอุตสาหกรรมการเกษตรที่รับช่วงการผลิตมาจากอุตสาหกรรมมะพร้าวแห้ง มีความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น อุตสาหกรรมทำนม ทำสบู่ เนยเทียม เป็นต้น สาเหตุที่น้ำมันมะพร้าวเป็นที่ยอมรับของทั่วไปเพราะมีกลิ่นและรสเฉพาะตัว ซึ่งเป็นที่ยอมรับของตลาด และปริมาณหาได้ค่อนข้างสม่ำเสมอตลอดทั้งปี



ภาพที่ 2.4
ที่มา www.thaiunbox.com

        3.  อุตสาหกรรมกะทิเข้มข้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำน้ำกะทิมะพร้าวมาระเหย เอาน้ำออกบางส่วน แล้วนำไปบรรจุในภาชนะปลอดอากาศ ทำให้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน และสะดวกต่อการใช้เพราะเมื่อนำกะทิดังกล่าวมาผสมเข้ากับน้ำก็จะคืนรูปเป็นกะทิธรรมดา การทำกะทิเข้มข้นทำอยู่ในวงจำกัด ปัจจุบันมีโรงงานด้านนี้ 2 โรง เนื่องจากในประเทศเรายังพอหามะพร้าวสดคั้นกะทิได้ง่าย แต่อาจจะจำเป็นสำหรับต่างประเทศ



ภาพที่ 2.5
ที่มwww.gotoknow.org

        4.  อุตสาหกรรมมะพร้าวขูดแห้ง   วิธีการคือนำเนื้อในมะพร้าวมาขุดลักษณะเดี่ยวกับเนื้อมะพร้าวสดขูดที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไป หลังจากนั้นนำไปผ่านกรรมวิธีอบแห้งด้วยความร้อนประมาณ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 35 นาที จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นผงขาวนวล แต่ยังคงสภาพกลิ่น รส ของมะพร้าวแห้งทุกประการ

2.2.  ผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมอุปโภค
       2.2.1  อุตสาหกรรมผลิตเส้นใยมะพร้าว เฉลี่ยแล้วกาบมะพร้าว 13 ผล สามารถผลิตเส้นใยมะพร้าวแห้งได้ 1 กิโลกรัม เส้นใยเหล่านี้ผ่านเครื่องตี แยกขุยมะพร้าวออกและตากแห้งแล้วถูกส่งออกจำหน่ายในรูปของเส้นใยอัด หรือควั่นเกลียว อุตสาหกรรมที่ใช้เส้นใยมะพร้าวมากได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตที่นอน เบาะรถยนต์ เบาะนั่งโซฟา พรมเช็ดเท้า แผ่นฉนวนป้องกันความร้อน เชือก ฯลฯ
        2.2.2  อุตสาหกรรมแท่งเพาะชำ นำเอาฟองใยมะพร้าวมาเป็นเศษวัสดุเหลือใช้จากโรงงานเส้นใยโดยนำมาอัดเป็นแท่ง และผ่านกรรมวิธีอบแห้ง แล้วบรรจุกล่องส่งขายได้ ส่วนที่เหลือจากการอบแห้งก็นำมาบ่น และบรรจุถุงขายเป็นดินผสมเพื่อใช้ปลูกไม้กระถาง
        ใช้ในรูปของอุตสาหกรรมหรือส่งออกต่อไป ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมมะพร้าวใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ
        1. ผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อการบริโภค เช่น อุตสาหกรรมมะพร้าวแห้งอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว อุตสาหกรรมกะทิเข้มข้น อุตสาหกรรมมะพร้าวขูดแห้ง อุตสาหกรรมน้ำตาลมะพร้าว
        2. ผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมและอุปโภค เช่น อุตสาหกรรมเส้นใยมะพร้าว อุตสาหกรรมแท่งเพาะชำ อุตสาหกรรมเผาถ่านจากกะลามะพร้าว อุตสาหกรรมแปรรูปมะพร้าว การเพิ่มรายได้สวนมะพร้าว
        เนื่องจากมะพร้าวจะเริ่มให้ผลหลังจากปลูกประมาณ 5-6 ปี ดังนั้นในขณะที่ต้นยังเล็กอยู่ จึงควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวมะพร้าว เป็นประเภทพืชที่มีอายุสั้น อาจเป็นพืชไร่ เช่น สับปะรด ถั่วต่าง ๆ หรือพืชผัก เช่น ฟักทอง แตงกวา แตงโม ข้าวโพดหวาน ฯลฯ เมื่อมะพร้าวโตขึ้น มีอายุได้ 4-5 ปี จะมีทรงพุ่มใหญ่ บังแสงแดดจึงไม่ควรปลูกพืชแซม เพราะจะได้ผลไม่คุ้มค่า และทำให้ต้นมะพร้าวโตช้า แต่เมื่อมะพร้าวมีอายุได้ 12-15 ปี ทาง(ใบ) จะเริ่มสั้นลง เปิดให้แสงแดดส่องถึงพื้นดินได้มากขึ้น จึงควรปลูกพืชยืนต้นที่เจริญเติบโตได้ดี ในที่ที่มีร่มเงาแซมลงในสวนมะพร้าว เช่น กาแฟ โกโก้ พริกไท ดีปลี ฯลฯ ในสวนมะพร้าวที่ให้ผลแล้ว นอกจากจะจะเพิ่มรายได้โดยการปลูกพืชแซมแล้ว ยังอาจเลี้ยงผึ้งหรือเลี้ยงวัวในสวนมะพร้าวได้ ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มผลผลิตของมะพร้าวอีกทางหนึ่งด้วย


3.  งานฝีมือจากมะพร้าว
        มะพร้าวเป็นพืชที่มีความผูกพันกับ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนไทยมาช้านาน คุณสมบัติที่ดีของมะพร้าว คือ ส่วนต่างๆ ของมะพร้าวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ หลากหลาย ตั้งแต่ ลำต้น ใบ ก้าน ผล กะลา รากมะพร้าว กาบมะพร้าว รากมะพร้าวประเภทของรูปแบบผลิตภัณฑ์มะพร้าว เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานหัตถกรรม มีมากมายหลายชนิด ขึ้นอยู่กับวัสดุที่มาจากส่วนต่างๆ ของมะพร้าว
         ก้านมะพร้าว หรือแกนใบ นำมาผลิตงานหัตถกรรมได้หลายอย่าง เช่น ไม้กวาด เสวียนหม้อ หรือก้นหม้อ ที่รองจาน เครื่องประดับข้างฝา โป๊ะไฟฟ้า พัด ที่หุ้มภาชนะปักดอกไม้ กระเป๋าถือสตรี กระจาดใส่ผลไม้ เป็นต้น
        กาบมะพร้าวหรือเปลือกมะพร้าว มีคุณสมบัติแข็งแรง คงทนต่อน้ำและน้ำทะเล มีความยืดหยุ่น และสปริงดี นำมาทำเชือก ทำพรม กระสอบ แปรงชนิดต่างๆ อวน ไม้กวาด เส้นใบสั้นใช้อัดไส้ของที่นอน เบาะรถยนต์ เป็นต้น
        ใบมะพร้าว ใช้สานเป็นภาชนะใส่ของชั่วคราว ห่อขนม สานหมวกกันแดด สานเป็นเครื่องเล่นเด็ก และผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกรูปสัตว์ต่างๆ ของที่ระลึกประดับตกแต่ง
        รากมะพร้าว เป็นเส้นยาว เหนียวมาก ใช้สานเป็นผลิตภัณฑ์ใช้สอย จำพวกตะกร้า ถาด ภาชนะสำหรับดอกไม้หรือใส่ของต่างๆ ประดิษฐ์เป็นหัตถกรรมของที่ระลึก
        รกมะพร้าว หรือเยื่อหุ้มคอมะพร้าว ลักษณะเป็นแผ่นใยหยาบบางๆ ยืดหยุ่นได้ แต่แยกขาดง่าย ใช้ผลิตหัตถกรรมประเภท กระเป๋า หมวก รองเท้าแตะ กล่องใส่ของ ดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น กะลามะพร้าว มะพร้าวแก่จะมีความคงทนมาก ไม่หดตัวแม้ถูกน้ำ ถูกแดด แต่จะเปราะง่าย หักง่าย หากกระทบกับสิ่งที่แข็งๆ ใช้ทำผลิตภัณฑ์ ภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องดนตรี ที่วางแก้วน้ำ กระบวยตักน้ำ ที่เขี่ยบุหรี่ เป็นต้น


4.  วัสดุ อุปกรณ์ ในการทำงานหัตถกรรมจากกะลามะพร้าว
        สิ่งที่ช่วยให้หัตถกรรมกะลามะพร้าวสวยงาม ได้สัดส่วน มีคุณค่าน่าใช้ และช่วยให้ผู้ประดิษฐ์ทำกะลามะพร้าวได้สวยงามจะต้องใช้อุปกรณ์งานไม้เพราะกะลามะพร้าวก็คือไม้ชนิดหนึ่ง แต่กะลาเป็นไม้เนื้ออ่อน บาง จนถึงไม้เนื้อแข็ง บางสถานการณ์เนื้อไม้อาจจะเปราะ  ในกรณีที่ต้องการผ่ากะลามะพร้าว ให้รอยผ่ามีความสวยงามและเรียบ ควรใช้เลื่อยตัดเหล็กหรือเลื่อยลอช่วยผ่าผู้จำหน่ายใช้มีดผ่ามะพร้าวให้แตกออกเป็น 2 ซีก โดยผ่าบนเส้นพูที่ตรงกับร่องปาก จะแตกเป็น 2 ซีกได้ค่อนข้างเรียบแต่ไม่แน่นอนเสมอไป ลักษณะของงานบางชิ้นต้องใช้อุปกรณ์ช่วย จากการสำรวจอุปกรณ์ในโรงงานหัตถกรรมกะลามะพร้าวของกลุ่มบ้านเกษตรกรกลุ่มส่งเสริมการเกษตรกลุ่มต่าง ๆ ในหมู่บ้านจะพบอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
         1. เลื่อยตัดเหล็ก (Hask saw)  รัชนี  จิตตวานิช (๒๕๓๑ : 20)  กล่าวว่า เลื่อยตัดเหล็กเป็นเลื่อยที่ออกแบบสำหรับตัดเหล็กหรือโลหะอื่น ๆ เนื่องจากกะลามะพร้าวมีความเหนียวและเป็นงานที่ต้องการความละเอียดในการตัดจึงต้องใช้เลื่อยตัดเหล็กมาใช้ผ่ากะลามะพร้าว ในเลื่อยตัดเหล็กมีฟันเลื่อยละเอียดจะสูญเสียคลองเลื่อยน้อยเลื่อยตัดเหล็ก
        มีการแบ่งตามลักษณะการประดิษฐ์ได้  1  แบบ คือ
       1) แบบด้ามปืน (Piston grip) ซึ่งด้ามของเลื่อยแบบนี้มีลักษณะคล้ายด้ามปืน นิยมใช้กันมาก ใบเลื่อยปรับแต่งได้ที่น๊อตหางปลา
       2) แบบด้ามตรง (Straight Handle)  การปรับแต่งจะทำได้ที่ตัวโครงสร้างด้วยการเลื่อนโครงเข้าออกได้ตามต้องการ
      ใบเลื่อยดัดเหล็กที่นิยมใช้กัน ใบเลื่อยมีความยาว 12 นิ้ว  งานหัตถกรรมกะลามะพร้าวต้องการความประณีต ควรเลือกใบเลื่อยชนิดฟันละเอียด มีจำนวนฟันตั้งแต่ 20 - 21 ซี่ ต่อความยาว 1 นิ้ว  ลักษณะเป็นของฟันเลื่อยเป็นแบบเลื่อยฟันโกรก
      ใบเลื่อยที่ทำจากโลหะไฮสะปรีค (High Speel Steel)  ใบเลื่อยจะเหนี่ยว ไม่เปราะสามารถบิดให้โค้งงอได้ ใช้ได้นาน เมื่อใบเลื่อยหมดอายุใช้งานสามารถนำไปประยุกต์เป็นใบมีดใช้ลบเหลี่ยมขอบกะลามะพร้าวได้
        2. เลื่อยลอ (Back saw) รัชนี  จิตตวานิช (๒๕๓๑ : 20กล่าวว่า เลื่อยลอบางครั้งเรียกเลื่อยสันแข็ง ลักษณะคล้ายเลื่อยลันดา  เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สั้นและบาง ดังนั้นจึงต้องมีเหล็กประกบยึดสันเลื่อยให้แน่นเป็นเส้นตรง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและใช้งาน ด้ามถือ เป็นไม้ขนาดตั้งแต่ 8 - 16 นิ้ว ใบเลื่อยมีฟันลักษณะเหมือนเลื่อยฟันตัด มีฟันตั้งแต่ 13 - 15 ซี่ ต่อความยาว 1นิ้ว ดังภาพ วัตถุประสงค์ในการประดิษฐ์เลื่อยเพื่อใช้ในการเลื่อยปากไม้ ตัดปากไม้หรือลิ่มไม้ ผ่าเดือย ตัดไม้ชิ้นเล็ก ๆ และส่วนที่ต้องการความละเอียดเรียบร้อยและประณีต เนื่องจากงานหัตถกรรมกะลามะพร้าวเป็นงานที่ต้องการความประณีต
        3. เลื่อยฉลุ (Coping saw)  เป็นเลื่อยที่ใช้ในงานตัดเจาะ  ฉลุวงกลมและส่วนโค้งต่าง ๆ  ใบเลื่อยมีหลายขนาด ขนาดเล็ก ที่ใช้ในการตัดมีขนาดกว้างตั้งแต่ 1/16 - 1/8 นิ้ว ใบเลื่อยจะยึดติดกับโครงทั้งสองด้าน ด้านหมุนที่อยู่ระหว่างใบเลื่อยกับตัวโครงใบเลื่อยกับตัวโครงเลื่อยมีความลึกตั้งแต่  
5 - 12 นิ้ว ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นแบบฟัน โกรก มีทั้งชนิดฟันหยาบและฟันละเอียด ในการตัดและผ่ากะลามะพร้าวควรใช้ฟันเลื่อยขนาด ๒๐ - ๓๒ ซี่ ต่อความยาว ๑ นิ้ว การติดใบเข้าโครงต้องให้ปลายฟันชี้ไปทางด้ามมือจับ ทั้งนี้เนื่องจากเลื่อยชนิดนี้มีกรรมวิธีในการเลื่อยต่างกับเลื่อยชนิดอื่นใน ขณะเลื่อยต้องดันเลื่อยไปทางด้านหลัง หรือด้านล่าง แต่ถ้าใช้ปากกาจับกะลาไว้ก็ใส่ใบเลื่อยให้ปลายฟันชี้ออกไปจากมือจับได้
       4. เลื่อยฉลุไฟฟ้า (Jig saw)เลื่อยฉลุไฟฟ้า  สามารถใช้งานเกี่ยวกับงานไม้ งานกะลามะพร้าว งานพลาสติก มีมอเตอร์ซึ่งมีร่องเปลี่ยนความเร็ว 4 ชั้น และใช้สายพานเป็นรูปตัววี ตัวโครงเลื่อยเป็นรูปโค้ง ที่ปลายมีไฮครอลิกสำหรับทำการดึงใบเลื่อย (Tension sleere) มีแผ่นเหล็กรองรับชิ้นงานขณะกำลังฉลุชิ้นงาน ใบเลื่อยฉลุ ขณะทำงานจะชักขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา มีใบเลื่อยฉลุหลายขนาดเดียว
       5. สว่าน ที่ใช้ในงานหัตถกรรมกะลามะพร้าว
                 มีการแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 2 แบบ คือ
   1)  สว่านมือ (Hand drill)  เป็นอุปกรณ์เจาะรูเพื่อใส่สลักยึดชิ้นส่วน หรือเจาะแตกต่างพื้นผิวของกะลาให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ก่อนใช้เลื่อยฉลุ ฉลุลาย สว่านประกอบด้วย ส่วนที่เป็นมือจับ ซึ่งส่วนมากทำด้วยไม้ ส่วนกลางเป็นฟันเฟืองและมือหมุน ส่วนหลายเป็นหัวจับดอกสว่าน ซึ่งทำเป็นลายนูนเพื่อกันลื่น หัวจับจะเป็นแบบ ๓ แฉก เพื่อที่จะใช้จับก้านดอกสว่านแบบกลม ให้แน่นอยู่ในที่เป็นดอกสว่านหมุนใช้งาน ดอกสว่านที่นิยมใช้กับนิยมใช้กับสว่านชนิดนี้แบบดอกนำศูนย์ ที่มีขนาดตั้งแต่
 1/16 - 11 - 16 นิ้ว ในงานเจาะแบบก้านตรงธรรม (Straight shank) มีขนาดโตถึง 3/8นิ้ว ใช้เจาะได้ทั้งไม้และเหล็ก การใช้สว่านมือ ต้องนำกะละมะพร้าว ที่จะทำไปยึดกับอุปกรณ์ยึดให้แน่นก่อนที่จะนำดอกสว่านมือมาวางบนจุดที่จะเจาะ แล้วหมุนก้านฟันเฟืองให้หมุนดอกสว่าน ให้เจาะไม้กะลามะพร้าวซึ่งเจาะยาก เพราะไม้กะลามะพร้าวเนื้อค่อนข้างเหนียวผิวสัมผัสกะลามะพร้าวค่อนข้างลื่น ถ้าไม่ถนัดทำยากอาจจะใช้สว่านไฟฟ้า หรือเครื่องเจาะไฟฟ้าช่วยก็ได้
    2) สว่านไฟฟ้าแบบแท่นเจาะ งานหัตถกรรมกะลามะพร้าวที่ต้องใช้ความละเอียดจะต้องใช้สว่านไฟฟ้าแท่นเจาะขนาดเล็ก เช่น สว่านไฟฟ้าแท่นเจาะขนาดมอเตอร์ ¼ แรงม้า แต่ถ้า จะใช้สว่านไฟฟ้าแท่นเจาะไปร่วมกับอุปกรณ์ที่ดัดแปลงมาสวมใส่หัวจับ ต้องใช้สว่านไฟฟ้า  แบบแท่นเจาะ
        . เครื่องขัด 2 หัว โดยใช้มอเตอร์ขนาด ¼ แรงม้า    ¼ แรงม้ามีความเหมาะสมกับงานหัตถกรรมกะลามะพร้าว เพราะสามารถดัดแปลงใช้กับอุปกรณ์อย่างอื่นได้
        7. กระดาษทราย ใช้ขัดผิวของกะลา เพื่อให้ผิวของกะลามีความลื่น เป็นมันเงางาม มีสีและริ้วรอยของธรรมชาติ กระดาษทรายที่ใช้มีอยู่หลายเบอร์ด้วยกัน คือ เบอร์ 60 เบอร์100 เบอร์105 เบอร์ 300 เป็นต้น
        8. แลคเกอร์เคลือบเงา  ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเสร็จแล้ว ก่อนส่งออกจำหน่ายจะถูกเคลือบเงา เพื่อรักษาความเงางาม ทำให้ผลิตภัณฑ์ดูเงางามเป็นที่สนใจแก่ลูกค้าที่พบเห็นอยู่เสมอ แต่ถ้าเป็นของใช้ในครัวเรือนจะไม่เคลือบแลคเกอร์ เพราะจะทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตราย
        9. กาวหลอด
       10. เครื่องขัดเจียร์ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่มีมอเตอร์ ใช้คู่กับกระดาษทรายสำหรับขัดเจียร์ เพื่อเอาผงฝอยที่กะลาออกให้เกลี้ยง ก่อนนำไปต้ม หรือใช้ขัดแต่งรูปทรงของผลิตภัณฑ์ให้ได้รูปทรงที่เหมาะสม
       11. ใบเจียร์

วัตถุดิบ
      1. ลูกมะพร้าว  ผลมะพร้าวที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว มีอยู่ ๒ ขนาด  คือ ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก    กะลาขนาดใหญ่ใช้ทำ จาน  ชาม  โถข้าว  เหยือก  ขันน้ำ
      2. ไม้ใช้ประกอบทรงของผลิตภัณฑ์  ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวบางอย่าง ที่มีด้ามจับ
เช่น ตะหลิว  ทัพพี  แก้วน้ำ  ถ้วยหู  ช้อน  เครื่องประดับชิ้นเล็กๆ
      3. เกลือ  เกลือถือว่าเป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญมากอย่างหนึ่งในการทำผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว เพื่อให้ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวมีความเหนียว ตกไม่แตกง่าย และไม่ขึ้นราเมื่อถูกความชื้น
                  ขั้นตอนวิธีการทำงานหัตถกรรมจากกะลามะพร้าว
       1. นำกะลามะพร้าวแก่จัดที่แห้งแล้วมาขูดเอาเนื้อด้านในออกให้หมด  แล้วขัดผิว ภายนอกกะลาด้วยเครื่องขัดหินเจียร์
       2. ร่างแบบลายลงบนผิวกะลาด้วยดินสอ หรือนำแบบลายที่เตรียมไว้ทากาวลาเท็กซ์ด้านหลัง แล้วปิดแบบลายลงบนผิวกะลาให้เรียบ ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง
       3. ใช้สว่านเจาะรูตามแบบลาย โดยใช้ดอกสว่านขนาด 2 มิลลิเมตร เจาะให้รอบแบบลายเพื่อเป็นรูสำหรับสอดใบเลื่อยฉลุ
       4. ใช้เลื่อยฉลุตามลาย ตกแต่งผิวและขอบนอกของกะลาด้วยตะไบหยาบและตะไบละเอียด
       5. กรณีที่ต้องการประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน หรือติดผลิตภัณฑ์บนแท่นไม้ให้ใช้กาวตราช้าง หากต้องการเพิ่มความแข็งแรงยิ่งขึ้นใช้ตะปูหรือหมุดตอกเป็นสลักยึดติด
       6. หากต้องการเคลือบเงาให้ใช้พู่กันทาแลคเกอร์จนทั่วผลิตภัณฑ์ แล้วทิ้งไว้ให้แห้งทาซ้ำใหม่ ทำเช่นนี้ 2-3 ครั้ง จะได้ผลิตภัณฑ์ที่เงางาม
       ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปจากกะลามะพร้าว  เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องตกแต่งบ้าน    เช่น ช้อนส้อม  ตะหลิว  ทัพพี  กระบวย  โถใส่ข้าว  ขันน้ำ  คุณภาพอยู่ในระดับกลางๆ ราคาในการจำหน่ายก็ไม่สูงมากนัก มีสีสันและเอกลักษณ์เฉพาะตัว  คือ   มีสีน้ำตาล และมีรูปทรงลักษณะโครงมน พื้นผิวเรียบ ลื่น และเครื่องตกแต่งบ้าน เช่น โคมไฟ ที่เสียบปากกา กระปุกออมสิน เป็นต้น เป็นงานหัตถกรรมที่ส่งผลต่อคุณค่าทางจิตใจ เพราะเป็นงานประณีต และใช้เวลาในการผลิตค่อนข้างนาน   ชิ้นงานแต่ละชิ้นใช้แรงงานคนทั้งสิ้น
    ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปจากกะลามะพร้าว  เป็นเครื่องใช้หรือภาชนะ อย่างเช่น
       1. กระบวยตักน้ำ  ใช้สำหรับตักน้ำดื่ม น้ำใช้ในครัวเรือน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการทำอย่างยากลำบาก และพิถีพิถันมีความละเอียดอ่อนในการทำชิ้นงาน
       2. ที่ใส่ปากกา ใช้สำหรับใส่ปากกา  เพื่อให้ตั้งไว้เป็นที่เป็นทาง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำได้ยากเพราะต้องผ่านกระบวนการต่างๆที่ละเอียดลออ เป็นชิ้นงานที่เล็กแต่สามารถทำออกมาได้สวยงามไม่แพ้ชิ้นงานอื่น
        3. ทัพพี  ใช้สำหรับตักต้ม ตักแกง ไว้ใช้ในครัวเรือน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นมาสำหรับไว้จำหน่ายแก่คนในพื้นที่ละแวกนั้น  แต่กลับเป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวที่เยี่ยมเยียนกลุ่ม และได้ซื้อกลับไปไว้ใช้ในครัวเรือนของพวกเขา จนเกิดปฏิกิริยาตอบกลับมาในทางที่ดีว่าผลิตภัณฑ์ที่ซื้อไปใช้ได้ดี และคงทน
        4. ถ้วยตักข้าวสาร  ใช้สำหรับตวงข้าวสารใส่หม้อเวลาหุงจะได้กะปริมาณได้ถูก และผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้สามารถทำได้ง่ายมากนักท่องเที่ยวและนิสิตนักศึกษาที่มาทำการวิจัยได้มาที่กลุ่ม  สามารถนำความรู้ความสามารถที่ได้รับจากการทดลองทำชิ้นงานไปใช้ทำไว้ใช้เองที่บ้านได้ โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายไปซื้อถ้วยตวงในท้องตลาด
        5. ที่ใส่ก้นบุหรี่ ใช้สำหรับใส่ก้นบุหรี่ที่เขี่ยทิ้ง เพื่อไม่ให้ก้นบุหรี่ตกลงสู่พื้น ชิ้นงานชิ้นนี้ถึงจะนำมาใช้ในงานที่ดูแล้วไม่สวยงามสักเท่าไหร่ แต่ลูกค้าที่ซื้อไปใช้ที่บ้านกลับบอกกับทางกลุ่มว่าเมื่อแขกว่าเที่ยวที่บ้านทุกคนก็ถามว่าซื้อที่ใส่ก้นบุหรี่จากที่ไหนสวยดี  เอาไว้โชว์ยังได้เลย
        6. จานรองสบู่  ใช้สำหรับวางสบู่ที่ใช้อาบน้ำ เพื่อไม่ให้สบู่โดนน้ำแล้วละลายได้เร็ว  สำหรับไว้ในห้องอาบน้ำ ชิ้นงานนี้สามารถทำได้ง่ายและราคาก็ถูก นักท่องเที่ยวที่มาศึกษามาเยี่ยม จะซื้อกลับไปบ้านติดไม้ติดมือกันทุกคน  เพราะสามารถใช้ได้กับทุกครัวเรือน
        7. ช้อนกาแฟ  ใช้สำหรับคนกาแฟที่ชงแล้วให้ละลายได้เร็วขึ้น  ชิ้นงานนี้ถ้าดูแล้วอาจจะถือว่าทำได้ง่าย แต่ในความเป็นจริงชิ้นงานยิ่งเล็กยิ่งยากที่จะทำ เพราะจะมีความละเอียดมาก
        8. โคมไฟ ใช้สำหรับตั้งโต๊ะทำงาน หรือไว้บนหัวเตียงในห้องนอน หรือห้องรับแขก  เพื่อเพิ่มความสว่างแก่สถานที่ ชิ้นงานนี้เป็นชิ้นงานที่สวยมากเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวที่มาที่กลุ่ม เพราะเป็นชิ้นงานที่พาไปออกบู๊ตโชว์ทุกงาน
        9. กระปุกออมสิน ใช้สำหรับหยอดเหรียญ เพื่อเก็บออมเงิน เป็นชิ้นงานที่ต้องผ่านการขัดถูอย่างละเอียดมาก
        10. กระเป๋า ใช้สำหรับใส่เงินไม่ให้ตกหล่นหาย  ชิ้นงานนี้เป็นที่สนใจของเด็กๆ ในละแวกกลุ่มหัตถกรรมมาก เพราะราคาถูกเด็กๆสามารถเก็บออมเงินซื้อเองได้ และเป็นที่โปรดปรานของแม่บ้านเพราะเวลาจะหยิบใช้สะดวก  คือกระเป๋านี้ทางกลุ่มหัตถกรรมเขาได้ทำสายคล้องคอไว้ด้วย
    ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปจากกะลามะพร้าว  เป็นของประดับตกแต่งสวยงาม อย่างเช่น
       1. ปิ่นปักผม ใช้สำหรับปักผมเพื่อตกแต่งเพิ่มความสวยงาม และรวบผมไม่ให้เกะกะเป็นชิ้นงานที่เล็กแต่ประดิษฐ์ด้วยอุปกรณ์เสริมเพิ่มความสวยงามแก่ชิ้นงาน  
       2. สร้อยคอ  ใช้สำหรับสวมใส่ห้อยคอเวลาใส่เสื้อผ้าไปงานต่างๆ เป็นชิ้นงานที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กๆ
       3. พวงกุญแจ ใช้สำหรับใส่ห้อยรวมกับกุญแจ เพื่อไม่ให้กุญแจสูญหาย หรือเพื่อความสวยงาม น่ารัก  สินค้าประเภทนี้เป็นชิ้นงานที่มีความประณีต เพราะเป็นชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก คุณภาพมีความแข็งแรง ตกไม่แตก พื้นผิวลื่นมัน สีน้ำตาลธรรมชาติ



บทที่ 3

บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน

วัน/เดือน/ปี

กิจกรรมที่ปฏิบัติ


 14 พฤศจิกายน 2556  - 28 พฤศจิกายน 2556

-ศึกษาวิธีการเขียนองค์ความรู้
-เลือกหัวข้อที่จะศึกษา และนำมาเป็นทฤษฎีความรู้
-ศึกษาหัวข้อย่อยของเรื่อง และนำมาทำเป็นแผนผังความคิด



12  ธันวาคม 2556  – 19 ธันวาคม 2556

-พบคุณครูประจำวิชาเพื่อเสนอโครงร่างรายงาน และแผนผังความคิด
-ศึกษาความสำคัญ หลักการและการให้เหตุผล วัตถุประสงค์ สมมติฐาน  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ขอบเขตการดำเนินงาน และนิยามศัพท์เฉพาะ
-ปรึกษาและขอคำแนะนำจากคุณครู ประจำรายวิชา


20  ธันวาคม 2556  –  26 ธันวาคม 2556

-เขียนโครงร่างการศึกษาค้นคว้า ความรู้เพิ่มเติม บทที่ 2
-ส่งทฤษฎีความรู้บทที่ 2 ต่อคุณครูประจำวิชาและขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากครูประจำวิชา


27  ธันวาคม 2556  – 2  มกราคม 2557
 
-เขียนโครงร่างของการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม บทที่ 3
-ส่งทฤษฎีความรู้บทที่ 3 ต่อครูประจำวิชาและขอคำแนะนำเพิ่มเติม จากคุณครูประจำวิชา


3 มกราคม 255716 มกราคม 2557

-ศึกษาการทำเว็บบล็อกและออกแบบเว็บบล็อก
-จัดทำประวัติผู้ค้นคว้าทฤษฎี
-อัพเดทความคืบหน้าระหว่างการทำงานลงในเว็บบล็อก


17 มกราคม 255723 มกราคม 2557

-ศึกษาความรู้จากแหล่งข้อมูล บทที่  4
-เขียนโครงร่างการศึกษาค้นคว้า ความรู้เพิ่มเติม
 บทที่ 4
-ศึกษาความรู้จากแหล่งข้อมูล บทที่  5
-เขียนโครงร่างการศึกษาค้นคว้า ความรู้เพิ่มเติม
บทที่ 5
-ส่งองค์ความรู้ บทที่ 4 และ 5 ต่อคุณครูประจำวิชาและขอคำแนะนำ เพิ่มเติมจากคุณครูประจำวิชา


24  มกราคม 255729 มกราคม 2557

-จัดทำภาคผนวกจากการลงพื้นที่
-จัดทำองค์ความรู้ แก้ไขและตรวจสอบข้อผิดพลาดของรายงาน
-เพิ่มเติมข้อมูลต่างๆในเว็บบล็อก


30 มกราคม 255713 กุมภาพันธ์ 2557

-ส่งทฤษฎีความรู้ฉบับสมบูรณ์
-นำเสนอโครงงานต่อคุณครูประจำรายวิชา
-คุณครูประจำรายวิชาประเมินผลโครงงาน